แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รักษาเบาหวาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รักษาเบาหวาน แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

แนวทางรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยเทคนิคการทำ IF (Treat diabetes by IF techniques)

 สวัสดีครับทุกท่าน จากบทความ 2 เรื่องที่ผ่านมา ผมได้เล่าที่มาที่ไปของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ให้ท่านผู้อ่านไปแล้ว ตั้งแต่ ความล้มเหลวในการลดน้ำหนักและการกลับมารับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูงจนเป็นผู้ป่วยเบาหวาน และการค้นพบโดยบังเอิญด้วยตัวเองของวิธีการลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเมื่อค้นค้าเพิ่มเติมสรุปได้ว่า มันคือเทคนิดการทำ IF นั่นเอง ก่อนอื่นต้องบอกว่า วิธีการทำ IF เป็นเทคนิคที่มีคนกล่าวถึงมานานแล้ว เพียงแต่ช่วงแรกของการรักษาเบาหวานของผม มุ่งเน้นไปที่การปฎิบัติตามคำแนะนำของหมอ คือ กินยารักษาเบาหวานตามที่กำหนด หมอให้ ออกกำลังกายและลดน้ำหนักเพิ่มเติม (ขอสัก 4 kg) แต่จากที่ผมเล่าให้ฟังไปตอนแรกว่า แนวทางดังกล่าว กลับทำให้หมอต้องจ่ายยารักษาเบาหวานเพิ่มขึ้น รวมถึง ยาลดไขมัน และตามติดมาด้วย ผลตรวจสภาพไตที่เริ่มบ่งชี้ว่าเข้าใกล้การเสื่อมของไตขั้นแรก รวมถึงความดันเริ่มสูงขึ้นในปีหลังๆ ในบทความนี้จึงขอแชร์วิธีการทำ IF รักษาเบาหวาน ให้ท่านผู้อ่านที่ต้องการรักษาเบาหวานอย่างยั่งยืน นำไปปรับให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของแต่ละท่านกันนะครับ มาเริ่มเลยนะครับ

ก่อนอื่นผมขอให้ทุกท่านเชื่อความจริง 3 ข้อนี้ก่อนนะครับว่า

1. เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาให้หายหรือสงบได้ ความจริงข้อนี้ จะลบล้างความเชื่อของผู้ที่ต้องการรักษาเบาหวาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ ผมเองก็เชื่อว่า เบาหวานเป็นแล้วรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ต้องกินยาควบคุมเบาหวานไปตลอดชีวิต

2. เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นผลของการดื้ออินซูลิน การดื้ออินซูลิน เป็นต้นต่อ (Root cause) ของการเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นผลมาจากการดื้ออินซูลิน

3. เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินการอยู่ สามารถปรับพฤติกรรมเพื่อรักษาเบาหวานได้ มิใช่เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ ส่งต่อจาก ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ 


หลักของการรักษาเบาหวานหรือควบคุมเบาหวานให้สงบ โดยปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชม หากเกิน 126 mg/dL หรือน้ำตาลสะสม มากกว่า 6.4% จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน การมอนิเตอร์ค่าดังกล่าวจึงเป็นการติดตามผลการรักษาเบาหวาน ที่ใช้อยู่อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน 

หากเราเชื่อความจริงข้อที่ 2 ที่ว่า เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายดื้ออินซูลิน โดยการดื้ออินซูลิน เกิดจากการมีอินซูลินในเลือดสูง และหรือเซลล์มีการเก็บไขมันและน้ำตาลมากเกินไปจนไม่สามารถรับน้ำตาลที่อินซูลินนำไปส่งให้เข้าไปในเซลล์ได้ จึงเกิดมีน้ำตาลสะสมในเลือดสูง จุดสำคัญของการรักษาเบาหวาน คือ ต้องลดอินซูลินในร่างกายลง เพื่อให้เซลล์เผาผลาญพลังงานไขมันและน้ำตาลที่เก็บอยู่ให้หมดไปเพื่อจะสามารถรับน้ำตาลที่อินซูลินส่งเข้าไปให้ใหม่ได้ 

การลดอินซูลินในเลือด ทำได้โดยการอดอาหารเป็นช่วงๆ ในระยะเวลาที่ในระดับที่เหมาะสม (Intermittent Fasting) ในระดับที่เซลล์เริ่มนำไขมันที่เก็บในเซลล์มาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ เนื่องจากอินซูลินจะถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาเมื่อมีการรับประทานแป้งและน้ำตาลเข้าไป ดังนั้นการอดอาหารเป็นช่วงๆ (IF) จะช่วยลดระดับอินซูลินในเลือดลงได้ 

การเริ่มทำ IF ที่ได้ผลโดยปกติจะใช้ 

1. IF 16/8 (อด 16 ชม กิน 8 ชม หรือกิน 3 มื้อ ระหว่างมื้อต้องไม่กินอะไรเลยยกเว้น ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่ นม ครม หรือน้ำตาล) หลังจากเริ่มทำสัก 2 Week ช่วงนี้ให้กินยารักษาเบาหวานตามปกติไปก่อนนะครับ แนะนำยกระดับการ Fast ไปเป็น 

2. IF 20/4 (อด 20 ชม กิน 4 ชม ระหว่างมื้อต้องไม่กินอะไรเลย ยกเว้น ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่ นม ครม หรือน้ำตาล) หลังจากทำ IF 20/4 ไปสัก 3 เดือน น้ำหนักจะลดลง 4 - 8 kg ร่างกายจะทนหิวได้มากขึ้น ในกรณีเป็นเบาหวานไม่นาน น้ำตาลในเลือนและน้ำตาลสะสม จะลดลง ใน State นี้ ขอแนะนำให้งดยารักษาเบาหวาน ก่อนอาหาร ซึ่งออกฤทธิ์ กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน มิเช่นนั้น น้ำตาลในเลือดท่านจะลดระดับลงมากเกินไป เนื่องจาก เราลด การกินแป้งและน้ำตาลลงแล้ว  ใน State นี้ หากไปพบหมอ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำตาลสะสม หากน้ำตาลมีค่าลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ แสดงว่า ร่ายกายเข้าสู่การจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก น้ำตาลลดลงโดยไม่ใช้ยารักษาเบาหวาน แต่หากระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ ให้เข้าสู่ระดับต่อไป

3. IF 23/1 หรือ OMAD หรือการกินวันละ 1 มื้อ จะช่วยลดน้ำหนักและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลงได้อีก ในการทำ IF 23/1 สัก 2 เดือน ค่าน้ำตาลในเลือด ควรเข้าสู่ระดับปกติ (< 100 mg/dL น้ำตาลสะสมต่ำกว่า 5.7%) หากท่านใดมีความดันสูง ใน State การทำ IF 23/1 ความดันเลือดของท่านควรอยู่ในระดับปกติแล้ว  และหากต้องการลดน้ำหนักเพื่อให้ค่า BMI อยู่ในระดับปกติ ( 19 - 22) แนะนำให้ทำ IF แบบ OMAD ต่อไปครับ

4. Prolong Fasting (47/1 , 71/1, 95/1) ผมแนะนำให้ทำ เดือน หรือ 2 เดือนครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้จัดการนำเซลล์ที่มีอายุมากหรือเซลล์ที่เริ่มทำงานผิดพลาดไป Recycle ใหม่ จะช่วยให้มีเซลล์ที่ประสิทธิภาพดีในร่างกาย

สุดท้ายนะครับ ในการทำ IF ไม่ว่าจะทำ Fasting ระดับไหน สิ่งสำคัญคือ อาหารที่เรารับประทานเข้าไป ควรจะเป็นอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low Carb) และ อาหารกลุ่ม คีโตน จึงจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาเบาหวานด้วยวิธีทำ IF ได้ประสิทธิภาพสูง และควบคุมเบาหวานได้ในระยะเวลาอันสั้นครับ และเมื่อ ลดน้ำหนักลงมาในระดับที่ BMI ปกติ และรักษาเบาหวานหายแล้ว การทำ IF ด้วยการกิน คีโตน หรือ การกิน Low Carb ก็จะช่วยให้เราไม่กลับไปเป็นเบาหวานอีกต่อไป 



วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

IF วิถีของคนต้องการลดน้ำหนักและควบคุมเบาหวาน (intermittent fasting)-ตอน 1

 สวัสดีครับ ต่อเนื่องจาก บทความ 

เกิดอะไรขึ้นหลังลดน้ำหนักไม่สำเร็จ ได้โรคเบาหวานและไขมันในเลือดมาเพิ่ม นะครับ หลังจาก กินยาควบคุมเบาหวานและไขมันในเลือดสูงมาเป็นเวลา 5 ปีกว่าๆ ซึ่งก็มีการติดตามผลน้ำตาลในเลือด จากการพบหมอตามนัดทุกๆ 3 เดือน (ผมยังไม่มีเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้าน) จากข้อมูลที่บันทึกลงใน Excel พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือด สวิง ไปมา แต่ดูจากเทรนแล้ว ค่าต่ำสุดของระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ ยกค่าสูงขึ้น เรียกว่าเป็นเทรนขาขึ้น โดยที่ผมก็กินยาตามหมอสั่ง ท้ายที่สุดหมอได้เพิ่มยาควบคุมเบาหมาน จาก 3 เม็ดต่อวันเป็น 4 เม็ดต่อวัน ดูสถานการณ์ไม่ค่อยดีนักแม้จะกินยาตามหมอสั่ง จนกระทั้ง ต้นปี 2564 หมอได้ให้อัลตราซาวช่องท้องส่วนล่างตามขั้นตอนการตรวจสุขภาพประจำปีของคนไข้เบาหวาน และได้พบ ก้อนที่ไตขวา ซึ่งหมอวินิจฉัยว่าเป็นก้อนไขมัน ธรรมดา ให้ติดตามผลทุกปี เอาละซิ ผมเริ่มมีนัดกับหมอไต ประจำปี เข้าอีกโรคหนึ่งแล้ว นอกจากหมอเบาหวาน และหมอตาที่ต้องตรวจเพื่อเช็คเบาหวานขึ้นตา โดยหมดนัดอัลตร้าซาวก้อนไขมันอีกครั้ง ในเดือน สค 64 เพื่อดูสภาพก้อนไขมันที่เกิดขึ้น หลังจากทราบผลการตรวจพบก้อนไขมัน มันทำให้ผมเริ่มกังวลและเครียด เกรงจะเป็นมะเร็ง ผมเริ่มทานข้าวน้อยลง มีทานน้อยมื้อเป็นบางวัน แต่ส่วนใหญ่ยังทาน 3 มื้อ แต่ด้วยความที่เครียดจึงกินข้าวได้ไม่มากนักและไม่สนใจขนมหวานระหว่างวัน จากพฤติกรรมดังกล่าว เมื่อผมกลับมาย้อนดูค่าระดับน้ำตาลในเลือด ช่วง มค - ตค 64 พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าลดลงเหลือระดับ 128,110, 110, 112 ใน 4 ครั้งหลังสุด แต่แล้ว หลังจากพบหมอไต อัลตร้าซาวไต เดือน สค 64 เรียบร้อย ผลตรวจพบว่าเป็น ก้อนไขมันธรรมดา ต่อไปให้มาตรวจปีละครั้ง ผมเริ่มสบายใจกลับมารับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตอนต้นปี 2565 ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอีกครั้งที่ 142 mg/dL แต่น้ำหนักเริ่ม ลดลงมาอยู่ในระดับ 76 kg (ลดลง 3 kg ในระยะเวลา 10 เดือน) จากผลการตรวจเลือดครั้งนั้นทำให้ผมกลับมาพิจารณาพฤติกรรมตัวเองอีกครั้ง ประกอบกับการหาข้อมูลเรื่อง การควบคุมเบาหวาน ทำให้ผมเห็นทางออกของ การควบคุมเบาหวาน และการลดน้ำหนัก ซึ่งก็คือ วิธีการทำ IF  หรือ intermittent fasting ซึ่งหมายถึงการอดเป็นช่วงๆ โดยเริ่มต้นผมเริ่มทำ IF แบบ 19/5 ซึ่งเข้ากับกิจวัตรประจำวันของผมที่สุด (เริ่มทำ IF อย่างจริงจังตั้งแต่ 18 มย 65)  จากการทำ IF ดังกล่าวทำให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง โดย 3 ครั้งหลังสุดของการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด มีค่าดังนี้ 110 , 105 , 91 mg/dL น้ำหนัก สุดท้ายอยู่ที่ 62.5 kg น้ำตาลสะสมในเลือด ล่าสุดอยุ่ที่ 6.2% และแน่นอน ผมลดยาควบคุมเบาหวานเหลือเพียง 1 เม็ด คือ Metformin ในช่วง เดือนที่ 5 และ 6 ของการทำ IF ผมขยับมาทำ OMAD (One meal a Day) หรือ 23/1 และมีช่วงเวลาทำ Prolong fasting 47/1 2 สัปดาห์/ครั้ง ดังนั้น จากผลการทำ IF (ยังมี คาร์โบไฮเดรตอยู่บ้าง) ทำให้เห็นว่า เบาหวานของผมอยู่ในระดับมี่ควบคุมได้ สามารถลดยารักษาเบาหวานลงได้ด้วย และน้ำหนักตัวลดลง จนขณะนี้ BMI ผมลดลง ต่ำกว่า 25.0 แล้ว ในบทความต่อไป จะนำเสนอเทคนิคการทำ IF ของผมให้ทุกท่านได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ในการลดน้ำหนักครับ 



ระดับน้ำตาลในเลือดจนถึงเดือน กย 2565


การดื่มชา ชาสมุนไพร วิธีดื่มชา น้ำชา ดื่มชา Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com